fbpx
Skip links

การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending)

การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending)

ด๊อกเตอร์มันนี่ บทความ มาตรการหนี้ การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending)

          การแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน เป็นเรื่องที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง โดย ธปท.ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ตั้งแต่ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้แบบปูพรมในช่วงโควิด แล้วปรับเป็นการช่วยเหลือแบบเฉพาะจุดหลังสถานการณ์เศรษฐกิจทยอยปรับดีขึ้น จนล่าสุด ธปท. ได้ออกมาตรการการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending – RL) เพื่อแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนแบบครบวงจร โดยมุ่งหมายให้ลูกค้าได้รับบริการอย่างเป็นธรรม เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภค และมุ่งหวังให้ผู้ให้บริการมีการบริหารจัดการด้านการให้สินเชื่อย่างรับผิดชอบและเป็นธรรมตลอดวงจรหนี้ ตั้งแต่ก่อน/กำลังจะเป็นหนี้ ระหว่างเป็นหนี้เมื่อลูกหนี้มีปัญหาชำระหนี้ จนถึงการดำเนินคดีและโอนขายหนี้ ขณะเดียวกัน ก็ส่งเสริมให้ “ลูกหนี้มีวินัย” ทางการเงินที่ดีขึ้น ผ่านการให้ข้อมูล เงื่อนไขและคำเตือนที่ลูกหนี้ควรรู้ เพื่อกระตุ้นพฤติกรรม (nudge) และบริหารจัดการหนี้ของตนเองได้

ทวงหนี้อย่างเป็นธรรม ต้องแจ้งข้อมูลสำคัญอะไรบ้าง ?​

ด๊อกเตอร์มันนี่ บทความ มาตรการหนี้ การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ทวงหนี้อย่างเป็นธรรม ต้องแจ้งข้อมูลสำคัญอะไรบ้าง

เจ้าหนี้จะต้องแจ้งรายละเอียดของภาระหนี้พร้อมข้อมูลสำคัญอื่น ๆ แก่ลูกหนี้ให้ครบถ้วน เช่น

  • ระยะเวลาค้างชำระ

  • ค่าธรรมเนียมการทวงถาม

  • เบอร์ติดต่อการชำระหนี้

  • ช่องทางขอคำปรึกษา

  • สิทธิ/วิธีการ/ช่องทางร้องเรียน

และห้ามเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อน ยกเว้น ลูกหนี้ล้มละลายหรือติดต่อไม่ได้
#ResponsibleLending #แก้หนี้ยั่งยืน #เจ้าหนี้รับผิดชอบ #ลูกหนี้มีวินัย

ด๊อกเตอร์มันนี่ บทความ มาตรการหนี้ การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) หนี้ปรับได้ เจ้าหนี้ต้องเสนอแผนปรับโครงสร้างหนี้

          ปัญหาหนี้มีทางออก เจ้าหนี้ต้องเสนอแผนปรับโครงสร้างหนี้ ให้กับลูกหนี้ที่ยังไม่เคยได้รับการปรับโครงสร้างหนี้

  1. เจ้าหนี้ต้องเสนอปรับโครงสร้างหนี้ (ก่อน 1 หลัง 1)

  • ก่อนเป็น NPL อย่างน้อย 1 ครั้ง เมื่อเริ่มมีสัญญาณว่าลูกหนี้กำลังมีปัญหา โดยให้ลูกหนี้มีเวลาตัดสินใจปรับโครงสร้างหนี้ก่อนกลายเป็น NPL

  • หลังเป็น NPL อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยให้ลูกหนี้มีเวลาตัดสินใจ ก่อนถูกโอนขายหนี้ บอกเลิกสัญญา ฟ้องร้องคดีแพ่ง หรือ ยึดทรัพย์

  1. เจ้าหนี้ห้ามโอนขายหนี้ก่อนครบกำหนด 60 วัน หลังเสนอแผนปรับโครงสร้างหนี้ /กรณีให้เช่าซื้อหรือให้เช่าแบบ

ลีสซิ่ง ต้องไม่บอกเลิกสัญญาหรือจำหน่ายทรัพย์ก่อนครบกำหนด 15 วัน หลังเสนอแผนปรับโครงสร้างหนี้

หมายเหตุ: สนใจติดต่อ Call center โทร 02-502-8888 ในวันและเวลาทำการ จันทร์ – เสาร์ (8.00น. – 17.00น.) หรือสาขาใกล้ท่าน

ด๊อกเตอร์มันนี่ บทความ มาตรการหนี้ การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ห้ามเรียกเก็บ Prepayment fee

          สถาบันการเงินและ Non-bank ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. ห้ามเรียกเก็บค่าปรับจากการปิดหนี้ก่อนกำหนด (Prepayment Fee) สามารถปิดหนี้ก่อนกำหนดได้ โดยไม่ต้องจ่าย Prepayment fee มีผลตั้งแต่ 1 ม.ค. 67

ยกเว้น สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ที่ผู้ให้บริการยังสามารถเรียกเก็บค่าปรับรีไฟแนนซ์ได้ในช่วง 3 ปีแรกนับจากวันทำสัญญา

ด๊อกเตอร์มันนี่ บทความ มาตรการหนี้ การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ปิดหนี้ก่อนกำหนดได้ ไม่ต้องจ่าย Prepayment fee

Prepayment fee คือ ค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนด ธปท. 

ห้ามเรียกเก็บ prepayment fee ในสินเชื่อภายใต้กำกับของ ธปท. ดังนี้

  • สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ
  • สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ (Nano finance)
  • สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ
  • สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล
  • สินเชื่ออุปโภคบริโภคอื่น ๆ เช่น สินเชื่อสวัสดิการ

** ยกเว้นสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ที่ผู้ให้บริการยังเรียกเก็บ prepayment fee ได้ในกรณีรีไฟแนนซ์ในช่วง 3 ปีแรกนับจากวันทำสัญญา เพื่อให้ลูกหนี้มีโอกาสได้ดอกเบี้ยต่ำในช่วง 3 ปีแรก

ด๊อกเตอร์มันนี่ บทความ มาตรการหนี้ การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) สัญญาณปัญหาหนี้

          สัญญาณว่าลูกหนี้กำลังมีปัญหา เช่น จ่ายขั้นต่ำ จ่ายช้า กดบัตรเงินสดมาจ่ายคืนหนี้อื่น รายได้ไม่พอรายจ่าย ถ้าเห็นสัญญาณแบบนี้ไปคุยกับเจ้าหนี้ได้เลย !!

หมายเหตุ: สนใจติดต่อ Call center  โทร 02-502-8888 ในวันและเวลาทำการ จันทร์ – เสาร์ (8.00น. – 17.00น.) หรือสาขาใกล้ท่าน

ด๊อกเตอร์มันนี่ บทความ มาตรการหนี้ การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) เคยปรับโครงสร้างหนี้แล้ว ขอปรับซ้ำได้ไหม
  • หากเคยปรับโครงสร้างหนี้ตั้งแต่ก่อนเป็นหนี้เสียแต่ตอนนี้จ่ายไม่ไหวกลายเป็นหนี้เสีย ยังสามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ได้อีกตามเกณฑ์
  • แต่หากเคยปรับโครงสร้างหนี้ทั้งก่อนและหลังเป็นหนี้เสียแล้วยังสามารถปรึกษาเจ้าหนี้ได้เป็นรายกรณี

หมายเหตุ: เกณฑ์ Responsible Lending ลูกหนี้มีสิทธิขอปรับโครงสร้างหนี้ ก่อนเป็นหนี้เสีย อย่างน้อย 1 ครั้ง และหลังเป็นหนี้เสีย อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยนับรวมการปรับโครงสร้างหนี้ก่อน 1 ม.ค. 67

  • ติดต่อเจ้าหนี้เพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้ โดยแจ้งข้อมูลภาระหนี้ทั้งหมดให้ครบถ้วน
  • เจ้าหนี้ต้องแจ้งลูกหนี้ให้ทราบภาระหนี้ พร้อมข้อมูลสำคัญอื่น ๆ เช่น ระยะเวลาค้างชำระ ค่าธรรมเนียมการทวงถาม เบอร์ติดต่อในการชำระหนี้
  • ถ้าเป็นหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล ยอดหนี้รวมทั้งหมดไม่เกิน 2 ลบ. ค้างชำระเกิน 120 วัน สมัครเข้าโครงการคลินิกแก้หนี้ได้

ด๊อกเตอร์ มันนี่
แพลตฟอร์มเทคโนโลยีทางการเงินออนไลน์

We use cookies to provide the best web experience possible.
Explore
Drag